

100 %
สนับสนุนเงินลงทุน
10 ล้านบาท
เงินสนับสนุน ต่อพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
คุณสมบัติ
ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ
1. เป็นส่วนราชการ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
กรณีผู้ยื่นข้อเสนอโครงการเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ส่วนราชการต้องได้รับมอบอำนาจ
จากหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นต้นสังกัดด้วย
2. มีภารกิจหรือกิจกรรมในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3. ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ
จากกองทุน และยังดำเนินโครงการไม่แล้วเสร็จ
4. เป็นผู้ที่มีเอกสารหลักฐานในการเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
-
หนังสือจากหน่วยงานหรือหน่วยงานร่วมที่ทำหน้าทีบริหาร กำกับ ดูแลพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แจ้งต่อผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ
เพื่อขอรับการสนับสนุนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน -
เอกสารแผนงานด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานที่หน่วยงานบริหาร กำกับ ดูแลพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เห็นชอบแล้ว หรือมีมติรายงาน
การประชุมที่เกี่ยวข้องในการให้ดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในพืนทีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ -
เอกสารแสดงรายละเอียดแผนงานดำเนินการ ที่มาของงบประมาณ และแผนการดำเนินการติดตามงาน/ผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นโครงการอย่างชัดเจน
ซึ่งแสดงถึงความพร้อมในการติดตาม กำกับ การดูแล และซ่อมบำรุงรักษาโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
5. ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ตลอดจนให้ความร่วม
มือในการดำเนินการต่าง ๆ โดยเอกสารในการสมัครเข้าร่วมโครงการ และเอกสารอื่น ๆ
ที่เกี่่ยวข้องต้องลงนามโดยหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจหรือผู้ที่ได้รับ
มอบหมาย กรณีเป็นการมอบอำนาจหรือการมอบหมายต้องมีเอกสารมอบอำนาจหรือ การมอบหมายจากผู้มีอำนาจเป็นการเฉพาะโครงการที่่ขอรับการสนับสนุนเท่านั้น
หากผู้ยื่นข้อเสนอโครงการไม่มีอำนาจกระทำแทนส่วนราชการ พพ. ขอสงวนสิทธิ์
ที่จะไม่ทำการพิจารณาข้อเสนอโครงการนั้น
หลักเกณฑ์การสนับสนุน
1. เป็นการสนับสนุนแบบให้เปล่า ร้อยละ 100 สำหรับการดำเนินงานทางด้านพลังงานทดแทน หรือด้านอนุรักษ์พลังงานวงเงินสนับสนุนโครงการโดยรวมทั้งสิ้น 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีเงื่อนไขในการสนับสนุน ดังนี้
1.1 วงเงินสนันสนุบสูงสุดรวมกันทุกเทคโนโลยี ไม่เกิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) ต่อพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้ ในแต่ละข้อเสนอโครการ
อาจกำหนดพื้นที่เป้าหมายได้มากกว่าหนึ่งพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1.2 ข้อเสนอโครงการที่ระบุรายการ/ รูปแบบเทคโนโลยี สอดคล้องเป็นไปตามที่กำหนดในประกาศ จะพิจารณาวงเงินสนับสนุนตามที่ระบุไว้ของแต่ละรายการนั้น
1.3 ข้อเสนอโครงการที่เสนอรูปแบบเทคโนโลยีที่แตกต่างจากที่กำหนดในประกาศนี้จะพิจารณาตามความเหมาะสมของเทคโนโลยีและวงเงิน จะอ้างอิงการสืบค้นราคากลาง
ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
ในการพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการนั้น พพ. จะทำการพิจารณาให้การสนับสนุนจนกว่าจะครบตามจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับโดยไม่ให้คงเหลือ
2. รูปแบบเทคโนโลยีที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องเป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน หรือด้านการอนุรักษ์พลังงานเท่านั้น โดยรายการรูปแบบเทคโนโลยี และวงเงินในการพิจารณาสนับสนุนมีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศที่ 1 ทั้งนี้ เงื่อนไขในการพิจารณาสนันสนุบ มีดังนี้
2.1 พิจารณาข้อเสนอรายการเทคโนโลยีที่เป็นไปตามประกาศนี้เป็นลำดับแรก กรณีข้อเสนอรูปแบบเทคโนโลยีที่แตกต่างจากรายการตามประกาศนี้ จะพิจารณา
เป็นลำดับถัดไป
2.2 เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ดำเนินโครงการ แบ่งเป็นพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว และพื้นที่ที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง ใช้หลักการประเมิรความคุ้มค่าเทคโนโลยี โดยพิจารณาอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (ฺBenefit Cost Ratio, B/C Ratio) มากกว่าหรือเท่ากับ 1 และระยะเวลาคืนทุน (Payback period: PB)
มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี ตามเงื่อนไขตัวแปรที่กำหนด โดยอ้างอิงข้อมูลประเมินตามหลักวิชาการ
2.3 ข้อเสนอโครงการ อาทิ รายการเทคโนโลยีที่ขอรับการสนับสนุน วงเงิน ที่ พพ. พิจารณาวินิจฉัยตัดสินให้ถือที่เป็นที่สุด
3. พพ. จะให้การสนับสนุนโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั่วประเทศ ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานบริหาร กำกับ ดูแบพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอโครงการ
1. พพ. ขอสงวนสิทธื์พิจารณาให้คะแนนข้อเสนอโครงการแก่ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการที่มีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การสนับสนุนเป็นไปตามหมวดที่ 1
2. ในการพิจารณาให้การสนับสนุน พพ. ได้จัดทำคู่มือแนวทางการจัดทำขอเสนอโครงการสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเพื่อตอบสนองโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ ปรากฎตามเอกสารแนบท้ายประกาศที่ 2 เพื่อให้ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ ได้จัดเตรียมเอกสารรายละเอียดข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
3. พพ. จะพิจารณาข้อเสนอโครงการ คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยแบ่งเป็นข้อการพิจารณาดังนี้
3.1 ความพร้อมของพื้นที่โครงการ (30 คะแนน)
(1) แผนงานหรือกิจกรรมดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนหรืออนุรักษ์พลังงานในพื้นที่โครงการที่หน่วยงานบริหาร กำกับ ดูแลพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเห็นชอบแล้ว หรือมีมติรายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องในการให้ดำเนินการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(2) หนังสือของหน่วยงานหรือหน่วยงานร่วมที่หน้าที่บริหาร กำกับ ดูแลพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แจ้งต่อผู้ยื่นข้อเสนอโครงการให้ดำเนินการขอรับการสนับสนุน
(3) มีรายละเอียดจำนวนครัวเรือน/ประชาชน ในพื้นที่โครงการที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ
(4) มีเอกสารการได้รับอนุญาตใช้พื้นที่จัดตั้งโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.2 ความพร้อมในการดำเนินโครงการ (35 คะแนน)
(1) มีหลักฐานแสดงประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการในการดำเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(2) แสดงโครงสร้างบริหารโครงการที่มีบุคลากรที่มีคุณวุฒิ ความรู้ มีประสบการณ์ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(3) แสดงรายละเอียดความพร้อมในการรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เช่น แหล่งน้ำ การเลี้ยงปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นต้น
(4) แสดงรายละเอียดแผนปฏิบัติงานในการดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม แผนการอบรมให้ความรู้ภายหลังดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
(5) แสดงรายละเอียดที่มาของงบประมาณและวงเงินที่ต้องใช้ การดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม ภายหลังหมดระยะประกันตามสัญญาจ้าง
(6) แสดงแผนงานในการรายงานผลการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา ต่อ พพ. ภายหลังสิ้นสุดโครงการ
3.3 ข้อเสนอเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (35 คะแนน)
(1) ข้อมูลรายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ ของรายการเทคโนโลยีพร้อมวงเงิน ที่เสนอขอรับการสนับสนุน
(2) ข้อมูลการประเมินคาวมคุ้มค่าของเทคโนโลยีที่เสนอขอรับการสนับสนุน โดยประเมินอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (ฺBenefit Cost Ratio, B/C Ratio) มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตามเงื่อนไขตัวแปรที่กำหนด
(3) ข้อมูลการประเมินระยะเวลาคืนทุน (Payback period: PB) มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี ตามเงื่อนไขตัวแปรที่กำหนด
3.4 พพ. ขอสงวนสิทธิ์พิจารณาให้การสนับสนุนแก่โครงการที่มีคะแนนรวมตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไปทั้งนี้ การพิจารณาให้การสนับสนุนจะพิจารณาให้การสนับสนุนโดยเรียงลำดับคะแนนรวมจากมากไปน้อยและวงเงินที่พิจารณาอนุมัติให้การสนับสนุนไม่เกิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) ต่อพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จนกว่าจะครอบคลุมกรอบวงเงินสนับสนุนที่กองทุนอนุมัติโครงการโดยรวมทั้งสิ้น 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน)
3.5 ผุ้ยื่นข้อเสนอโครงการที่ผ่านเกณฑ์คะแนน โดยมีคะแนนรวมตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป และเมื่อจัดลำดับผุ้ยื่นข้อเสนอโครงการเป็นลำดับสุดท้าย พพ. จะอนุมัติวงเงินสนับสนุนเฉพาะตามวงเงินที่เหลือ เพื่อจัดการระบบเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วน
3.6 ผู้ร่วมโครงการจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ ตลดอดจนให้ความร่วมมือในการดำเนินการต่างๆ โดยเอกสารสมัครเข้าร่วมโครงการ หนังสือยืนยันขอรับการสนับสนุน และเอกสารอื่น ๆ ในโครงการ จะต้องลงนามโดยหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายกรณีการมอบอำนาจต้องต้องมีเอกสารการมอบอำนาจจากหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะโครงการที่ขอรับการสนุบสนุนเท่านั้น
3.7 การพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการ พพ. จะพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการ และอนุมัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ
ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินโครงการ
แผนผังขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินโครงการ
ของผู้ได้รับจัดสรรเงินกองทุนฯ
ผู้ร่วมโครงการ
ยื่นเอกสารข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนฯ
-
จัดทำหนังสือยืนยันการสนับสนุนฯ ส่ง พพ.(ภายใน 28 มี.ค. 65)
-
เริ่มดำเนินการโครงการ 28 มี.ค. 65 (ระยะเวลา 12 เดือน)
จัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญา (ภายใน 90 วัน) นับตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินโครงการ
ติดตั้งเทคโนโลยี/อุปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนฯ
-
จัดส่งรายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์
-
ขอเบิกเงินสนับสนุนแต่ละงวดฯ
-
รับเงินสนับสนุนฯ
-
จัดทำหนังสือและเอกสารแจ้งตอบรับเงินฯ แต่ละงวด
-
จัดทำรายงานการเบิก-จ่ายประจำเดือน
-
ปิดบัญชีโครงการและคืนเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ย
-
แจ้งปิดโครงการตามระเบียบกองทุนฯ
รายงานผลการใช้พลังงานและปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข
(ตามระยะเวลาที่กำหนด)
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
-
ตรวจสอบ กลั่นกรองข้อเสนอโครงการและงบประมาณ
ที่จะสนับสนุนฯ -
คัดเลือกและอนุมัติข้อเสนอโครงการ
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการสนับสนุนและแจ้งผล
การอนุมัติการสนับสนุนฯ
ติดตามให้คำแนะนำจัดทำหนังสือยืนยันและแก้ไขปัญหาอุปสรรค
-
ติดตาม ตรวจสอบการใช้พลังงานก่อนดำเนินโครงการ
-
ให้คำแนะนำทางเทคนิค การออกแบบฯ
-
ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานฯ
-
ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานฯ
-
ตรวจวัด จัดเก็บข้อมูลประเมินผลการประหยัดพลังงาน
จากเทคโนโลยีที่ได้รับสนับสนุนฯ และแต่ละพื้นที่
ตรวจสอบรายงานความก้าวหน้าและเอกสารการเบิกเงินสนับสนุน
จัดเตรียมเอกสาร ตรวจสอบและอนุมัติการจ่ายเงินสนับสนุน
อนุมัติปิดโครงการ แจ้งและส่งคืนเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ยต่อ ส.กทอ ตามระเบียบกองทุนฯ
รับทราบและร่วมแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
วิธีการ
สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทางเว็บไซต์ www.dede.go.th
2. ยื่นข้อเสนอโครงการ ได้ดังนี้
-
ยื่นข้อเสนอโครงการด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม อาคาร 7 ชั้น M กรมพัฒนาพลังงานทดแทน
และอนุรักษ์พลังงาน ในวันเและเวลาราชการ -
ยื่นข้อเสนอโครงการ โดยส่งทางไปรษณีย์ มาที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ 17
เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 ซึ่งระบุหน้าซองถึง“อธิบดี
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน” และวงเล็บมุมซองว่า “โครงการสนับสนุนการอนุรักษ์
พลังงานและพลังงานทดแทนเพือตอบสนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”