top of page

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับระบบการจัดการพลังานตามกฎหมาย
ด้วยมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล ISO 50004 และ ISO 50006

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับระบบการจัดการพลังานตามกฎหมายด้วยมาตรฐานการจัดการพลังงานส.JPG
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับระบบการจัดการพลังานตามกฎหมายด้วยมาตรฐานการจัดการพลังงานส.JPG
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับระบบการจัดการพลังานตามกฎหมายด้วยมาตรฐานการจัดการพลังงานส.JPG

องค์กรระหว่างประเทศด้านการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือ ISO ได้จัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
พลังงาน (Energy Management Standard) ต่างๆ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
(Energy Efficiency) ลดต้นทุนด้านพลังงาน และสามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ผ่านมา ISO ได้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานด้านการจัดการพลังงานรวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐานสากล ISO50001 ซึ่งได้มีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2554 มาตรฐานสากล ISO 50002 ISO 50003 ISO 50004 ISO 50006 และ ISO 50015 ซึ่งได้มีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2557 โดยนอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ

การจัดการพลังงานที่อยู่ระหว่างการจัดทำร่างอยู่จำนวนหนึ่งอีกด้วย

มาตรฐานสากล ISO50001 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งในปัจจุบันมาตรฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักในประเทศไทย
ค่อนข้างแพร่หลาย เนื่องจากหน่วยงานที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐานสากลดังกล่าว ต้องจัดให้บุคลากรในสังกัดที่เกี่ยวข้องได้รับการฝึกอบรม
จากหน่วยงานฝึกอบรมต่างๆ เพื่อให้บุคลากรนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ
การขอรับการรับรองมาตรฐานสากลดังกล่าวจากหน่วยรับรอง (Certification Body) แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มาตรฐานด้านการจัดการพลังงานอื่นๆ
ที่เป็นประโยชน์ในการยกระดับระบบการจัดการพลังงาน ได้แก่ มาตรฐานสากล ISO50004  ซึ่งว่าด้วยเรื่องของข้อแนะนำสำหรับการดำเนินการรักษาไว้

และปรับปรุง ระบบการจัดการพลังงาน (Guidance for the implementation, maintenance and improvement of an energy management system)

และมาตรฐานสากล ISO50006 ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการวัดสมรรถนะด้านพลังงาน โดยใช้ข้อมูลฐานและตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน (Measuring energy performance using energy baselines and energy performance indicators) ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหน่วยงานฝึกอบรมด้านพลังงานเอกชน ยังไม่ได้มีการพัฒนาหลักสูตรด้านการจัดการพลังงานตามมาตรฐานดังกล่าว ส่งผลให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ผู้ตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงาน ผู้ตรวจประเมิน คณะทำงานจัดการพลังงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สูญเสียโอกาสในการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวทางมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล ISO50004 และ ISO50006 ดังกล่าว

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการ

ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ของระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมายด้วยมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล ISO50004 และ ISO50006 ดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตร

การยกระดับระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมายด้วยมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล ขึ้น เพื่อให้บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

และสามารถยกระดับระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย ตามแนวทางของมาตรฐานการจัดการพลังงานสากลต่อไป

1. พัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย ด้วยมาตรฐานการจัดการ

   พลังงานสากล (Energy Management International Standard)
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ผู้ตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงาน ผู้ตรวจประเมิน

    และคณะทำงานจัดการพลังงาน ให้สามารถยกระดับระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย ตามแนวทางของมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล       

    ISO 50004 และ ISO 50006

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ผู้ตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานตามกฎหมาย ให้สามารถยกระดับระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย ตามแนวทางของมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล
ISO 50004 และ ISO 50006

ระยะเวลา 4 วัน หรือจำนวน 24 ชั่วโมง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้แบ่งคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

   ผู้สมัครที่สังกัดหน่วยงานดังต่อไปนี้

1. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
2. พลังงานจังหวัด
3. ผู้ชำนาญการ หรือผู้ช่วยผู้ชำนาญการ ในสังกัดของผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
4. ที่ปรึกษา หรือวิทยากรด้านพลังงานในสังกัดของหน่วยงานที่ได้รับการจดทะเบียนกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
5. วิศวกร หรือที่ปรึกษาด้านพลังงานในสังกัดของบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)
6. อาจารย์ประจำในสังกัดของสถาบันการศึกษา
7. ผู้ตรวจประเมินหรือผู้เชี่ยวชาญ ในสังกัดของหน่วยตรวจประเมินมาตรฐาน ISO
8. วิศวกร หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงานในโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
9. วิศวกร หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงานในโรงงานหรืออาคาร

   ผู้สมัครประเภทวิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้ตรวจประเมินอิสระ (ไม่มีสังกัด)

ผู้สมัครจะต้องแสดงผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน ไม่น้อยกว่า 2 ผลงาน

หมายเหตุ: สงวนสิทธิ์ให้แต่ละหน่วยงานจัดส่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ไม่เกินหน่วยงานละ 3 คน

1. ผู้สำเร็จการฝึกอบรมที่มีสิทธิ์รับวุฒิบัตร จะต้องเป็นผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม และมีระยะเวลาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลา
   การฝึกอบรมทั้งหลักสูตร
2. ต้องผ่านการทดสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การทดสอบ

bottom of page